การศึกษาเท่าเทียมเพื่อทุกคน เป็นนโยบายระดับโลก นำโดยองค์กรUNESCO โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนและผู้ใหญ่ทุกคน ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงความตระหนักและความมุ่งมั่นต่อนโยบายนี้ มาเป็นเวลานาน จึงยอมรับได้ว่าเด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้ มีสิทธิในการศึกษาโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของพวกเขา ในปี พ.ศ.2548 คณะรัฐมนตรีของประเทศไทยได้อนุมัติข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมติการศึกษาสำหรับบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและสถานะทางกฎหมาย มติดังกล่าวมีผลในเชิงบวกต่อการลงทะเบียนเรียนของเด็กอพยพ เด็กนักเรียนพลัดถิ่น เด็กที่ไม่มีเอกสารหรือเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างความมุ่งมันด้านนโยบายและด้านความเป็นจริง มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสิทธิในการศึกษาของเด็กผู้ต่างด้วย และทำให้ความสามารถในการลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนของไทยลดลง อันที่จริงแล้วสถานการณ์ของเด็กผู้อพยพและผู้ที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อความตั้งใจของอาจารย์ใหญ่และครูชาวไทยในการต้อนรับเด็กๆในโรงเรียนของพวกเขา ดังนั้นเด็กต่างด้าวส่วนใหญ่จึงไม่มีสูติบัตรหรือเอกสารทางกฎหมายที่ตรงตามข้อกำหนดสำหรับการลงทะเบียนในโรงเรียนรัฐบาลของไทย แม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะมีอำนาจในการออกเอกสารชั่วคราวเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนเด็กต่างด้าว แต่กระนั้นเด็กต่างด้าวยังคงมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคเนื่องจากพวกเขามักจะเก็บเอกสารที่ขัดแย้งกันซึ่งทำให้ยากต่อการประเมินข้อมูลพื้นฐาน
นอกจากนี้ เนื่องจากกฎหมายการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่แน่นอนของพวกเขาในประเทศไทย ครอบครัวผู้อพยพจำนวนมากถูกบังคับให้ออกจากประเทศโดยไม่คาดคิดและกลับไปยังประเทศเมียนมาเป็นผลให้ครอบครัวย้ายถิ่นตามแนวชายแดนอยู่ตลอดเวลา เด็กๆต้องพยามหาทางมาเรียนเพื่อให้ยังได้เข้าเรียนเป็นประจำและอัตราการออกกลางคันสูงกว่าเมื่อเทียบกับนักเรียนไทย นอกจากนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ผู้อำนวยการของโรงเรียนและครูมีความยากลำบากในการติดตามพ่อแม่เด็กพราะภาษาที่ต่างกันยังเป็นอุปสรรคอีกด้วย
ในปี พ.ศ.2561 มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนโดยร่วมกับคณะกรรมการประสานงานการศึกษาผู้อพยพ ศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว,สพป.ตาก เขต2 และร่วมกับ องค์กร Save the Children in Thailand การประชุมกับผู้อำนวยการของโรงเรียนไทยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติจากระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการลงทะเบียนเด็กที่ไม่ใช่คนไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 ทางมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ได้จัดประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทะเบียนเด็กต่างด้าวเพื่อแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนและข้อบังคับสำหรับการลงทะเบียนและให้แนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ให้บริการการศึกษา เพื่อจุดประสงค์นี้มีการจัดประชุมสำหรับโรงเรียนรัฐบาล 121 แห่งใน 5 อำเภอ ได้แก่ แม่สอด,แม่ระมาด,พบพระ,ท่าสองยางและอุ้มผาง ครูจำนวน 231 คนเข้าร่วมการประชุมและรับทราบคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการลงทะเบียนของเด็กที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย
มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ได้รับทราบถึงความมุ่งมั่นอย่างสูงของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในการต้อนรับเด็กต่างด้าวเข้ามาเรียนในโรงเรียนของพวกเขา อย่างไรก็ตามเราตระหนักถึงอุปสรรคและความท้าทายในการลงทะเบียนของเด็กผู้อพยพ เรายังคงมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างครูในโรงเรียนไทยกับผู้ปกครองของเด็กๆ ในชุมชนผู้อพยพเพื่อรับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา
ในไม่กี่เดือนต่อมาหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียนสำหรับปีการศึกษาใหม่ ทางมูลนิธิช่วยไร้พรมแดนได้มีการติดตามไปยังผู้อำนวยการโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ เพื่อประเมินหาว่าอะไรเป็นอุปสรรคในการลงทะเบียนของเด็กผู้อพยพ และวิธีการการรับมือกับอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเพิ่มความตระหนักและการแบ่งปันข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนาโอกาสของเด็กอพยพในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาในประเทศไทย เรารับทราบและเห็นคุณค่าของความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการของไทย รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ให้บริการการศึกษาของผู้อพยพ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้แน่ใจถึงสิทธิในการศึกษาของเด็กๆ ทุกคน