ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเยาวชนพลัดถิ่น (Migrant Learning Centres: MLCs) นอกจากจะให้โอกาสทางการศึกษาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน ในปีการศึกษา 2560-2561 เด็กพลัดถิ่น จำนวน 12,848 คน ได้ลงทะเบียนเข้ารับการศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้จำนวน 70 แห่งทั่วประเทศไทย
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ได้จัดงานประชุมร่วมหารือด้านการศึกษาของผู้อพยพพลัดถิ่น โดยเชิญองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาของเยาวชนต่างด้าวเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2561-2562 อาทิ ศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็กพลัดถิ่น (Migrant Education Coordination Centre:MECC) คณะกรรมการการศึกษาเพื่อผู้อพยพชาวเมียนมา (Burmese Migrant Workers Education Committee: BMWEC) มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน (Help Without Frontiers: HWF) สมาคมครูแรงงานเมียนมา (Burmese Migrant Teachers’ Association: BMTA) คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา (Education Quality Assurance Board: EQAB) โครงการบูรณาการการศึกษาเพื่อผู้อพยพ (Migrant Education Integration Initiative: MEII) องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children International: SCI) มูลนิธิ ไร้ท์ ทู เพลย์ (Right to Play: RTP) กองทุนปกป้องเด็ก (Children’s Defense Fund: CDF) และองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือองค์การยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) รวมถึงองค์กรพันธมิตรท้องถิ่นต่างๆ การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันวางแผนและเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อผู้อพยพ
ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการศึกษาเยาวชนพลัดถิ่นในปีการศึกษาต่อไปมีดังนี้
1. ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเยาวชนต่างด้าวถือเป็นองค์กรสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนด้านการศึกษาและปกป้องสิทธิในการเข้ารับการศึกษาให้กับเยาวชนผู้อพยพ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมสภาพแวดล้อมภายในให้มีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งใช้ภาษาที่เด็กและเยาวชนเข้าใจในการเรียนการสอน อีกทั้งยังควรประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้เด็กและเยาวชนต่างด้าวในพื้นที่เข้ารับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
จำเป็นต้องให้การสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ในปีการศึกษาหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าศูนย์เหล่านี้ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชนพลัดถิ่นที่อาจจะพลาดโอกาสเข้ารับการศึกษา
2. การดำเนินตามนโยบายทางการศึกษาสำหรับเยาวชนพลัดถิ่นถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลของประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น นโยบายการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) ของกระทรวงการศึกษาช่วยเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนพลัดถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์นโยบายทางการศึกษาให้ครอบครัวผู้อพยพทราบถึงสิทธิในการส่งเด็กและเยาวชนพลัดถิ่นเข้าศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล
3. ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเยาวชนพลัดถิ่นจะต้องรักษาสถานภาพการเป็นสถานศึกษาที่ปลอดภัย เพื่อคอยสนับสนุนทางการศึกษาแก่ครอบครัวผู้อพยพที่ยากไร้ พร้อมเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนพลัดถิ่นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการศึกษาของผู้ปกครองผ่านสมาคมครูและผู้ปกครอง
จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวผู้อพยพรับทราบถึงทางเลือกทางการศึกษาที่ดีสำหรับเยาวชน
4. ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเยาวชนต่างด้าวเปิดโอกาสทางการศึกษาด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงการศึกษาของประเทศไทยและประเทศพม่า เพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่ 4 ของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ซึ่งก็คือการสร้างหลักประกันให้การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและครอบคลุม และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน ศูนย์การเรียนรู้ทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของ HWF, BMTA และ BMWEC จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของรัฐบาล พร้อมปรับใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับประถมศึกษาของประเทศเมียนมาและหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประเทศไทย (กศน.) เพื่อให้เยาวชนพลัดถิ่นได้รับสิทธิเข้ารับการศึกษาอย่างเท่าเทียม
จำเป็นต้องพัฒนาและส่งเสริมทางเลือกทางการศึกษาเพิ่มเติมให้กับเยาวชนพลัดถิ่น