ในสัปดาห์สุดท้ายของปีการศึกษา 2561-2562 นักเรียนในผู้ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเยาวชนพลัดถิ่น (Migrant Learning Centres: MLCs) ได้ทำการสอบปลายภาค เหล่าอาจารย์ใหญ่และคุณครูได้จัดประชุมผู้ปกครองและครูสมาคม (PTA) เพื่ออัพเดทความเป็นไปของนักเรียนและหารือเกี่ยวกับแผนการในอนาคต ศูนย์การเรียนรู้บางแห่งได้จัดพิธีปิดเล็ก ๆ เพื่อมอบรางวัลแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นรวมถึงการจัดการเต้นรำและการแสดงเพื่อเป็นการปิดภาคเรียนอย่างเป็นทางการ
ในเดือนมีนาคม 2562 เยาวชนพลัดถิ่นกว่า 2,495 คนได้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานี้ ซึ่งหมายความว่า 11% ของผู้ที่เริ่มภาคเรียนในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 ไม่สามารถจบการศึกษาในภาคการศึกษาช่วงเดือนมีนาคม 2562 โดยสาเหตุของอัตราการออกกลางคันของนักเรียนสูงเนื่องจากการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานอีกทั้งการออกกลางคันเพื่อไปทำงาน เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงนโยบายการย้ายถิ่นจากรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวของแรงงานข้ามชาติพม่าข้ามพรมแดนจึงมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
ครอบครัวชาวพม่ามักย้ายถิ่นฐานไปยังที่ต่าง ๆ ตามแนวชายแดนตามแต่โอกาสในการทำงานจะเอื้อ ทำให้เด็กถูกบังคับต้องออกจากการศึกษา นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กต้องย้ายออกจากโรงเรียนคือเมื่อพวกเขาถึงวัยทำงาน และสามาถทำงานหารายได้และเลี้ยงดูครอบครัวได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ที่เด็กพลัดถิ่นได้เริ่มทำงานตั้งแต่อายุยังน้อย แม้ว่าพวกเขาจะอายุเพียง 5 ขวบก็ตาม
ปีการศึกษาที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปนี้ นับเป็นปีแรกที่ทางศูนย์การเรียนรู้ได้ถูกขอให้เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการศึกษาของบุตรหลาน หรือการจัดกิจกรรมเพื้อสร้างรายได้เพื่อสนับสนุนทางการเงิน เช่นนี้ ทั้งทางผู้อำนวยการ และคุณครูจึงถูกขอให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายจำนวน 20% ของงบประมาณประจำปีรวมทั้งรับผิดชอบในการครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้
เนื่องจากความสามารถของผู้ปกครองในการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการศึกษาของเด็กมีจำกัด เพราะรายได้ประจำวันไม่แน่นอน นอกจานี้กิจกรรมสร้างรายได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ได้จัดขึ้น เช่นการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ การตัดเย็บผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กจำหน่าย การจหน่ายอาหารทำเองเช่นน้ำพริก ล้วนไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายของทางศูนย์การเรียนรู้ได้ เช่นนี้ครูจึงเลือกที่จะลดเงินเดือนและมอบเงินคืนให้กับโรงเรียน
ในวันที่ 1 มิถุนายน 2562 เด็กและเยาวชนพลัดถินจะเปิดภาคเรียนในปี 2562-2563 ด้วยความหวังใหม่ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของทางมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ทางศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่นจึงถูกขอให้เพิ่มเงินบริจาคเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายของโรงเรียน โดยงบประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นนั้นถือเป็นความรับผิดชอบของศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายในโรงเรียนอันเป็นความรับผิดชอบของทางผู้ปกครองและคุณครู
มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนได้เพิ่มความพยายามในการระดมทุนทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับสากลเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กพลัดถิ่นสามารถเข้าถึงและศึกษาต่อไปได้ การประชุมประจำเดือนเป็นประจำร่วมกับอาจารย์ใหญ่และคุณครูเพื่อติดตามสถานการณ์ หารือร่วมกันถึงวิธีรับมือ เรายืนยันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยังคงมุ่งมั่นที่จะทำงานด้านการศึกษาผู้พลัดถิ่นตามแนวชายแดนต่อไป