27 May, 2018

การศึกษาทางเลือกถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชนพลัดถิ่น ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาตามระบบ เด็กๆเยาชนพลัดถิ่น สัญชาติเมียนมา จำนวนมากที่อาศัยตามแนวชายแดนไทย-เมียนไม่มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนและไม่ทราบถึงสิทธิทางการศึกษาของพวกเขา จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหานี้เพื่อส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนพลัดอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบทั้งในประเทศพม่าและประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่มีผู้อพยพชาวพม่าอาศัยอยู่ เพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนกลุ่มนี้

โดยในปี พุทธศักราช  2562 โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับประถมศึกษาจะดำเนินการครบ 10 ปี หลักสูตรนี้ถูกนำไปปรับใช้ในโรงเรียนกว่า 80 แห่งในประเทศเมียนมา และ 1 แห่งในประเทศไทย ในแต่ละปีการศึกษา นักเรียนจะเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ดังนั้น หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับประถมศึกษา ระดับที่ 1 จะเทียบเท่ากับเกรด 1-2 และระดับที่ 2 จะเทียบเท่าเกรด 3-4 ของหลักสูตรการศึกษาในระบบของประเทศเมียนมา

ในปีการศึกษา พุทธศักราช 2557-2558 มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน (Help without Frontiers) ดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับประถมศึกษา (Non-Formal Primary Education: NFPE) ในโรงเรียนแสงแห่งความหวัง (Rays of Hope School) จำนวน 4 แห่งในอำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีเด็กนักเรียนเข้าลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรนี้จำนวน 120 คน นับแต่นั้นเป็นต้นมา หลักสูตรนี้ก็ได้รับการนำไปปรับใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้นักเรียนชาวเมียนมาจำนวนมากสามารถศึกษาต่อที่โรงเรียนรัฐของประเทศเมียนมา ในปีการศึกษา 2560-2561 โรงเรียนจำนวน 17 แห่งในอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก และกรุงเทพมหานคร นำเสนอการศึกษาทางเลือกให้กับเด็กชาวพม่าจำนวน 646 คน ในปีการศึกษา 2559-2560 มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนได้เริ่มการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับกลาง (Non-Formal Middle Education: NFME) (หลักสูตร 3 ปี) ที่ศูนย์การเรียนรู้สุขะฮองษา (Sauch Kha Hong Sar Learning Center) เป็นแห่งแรก และเมื่อจบหลักสูตรนี้ นักเรียนจะมีวุฒิการศึกษาเทียบเท่าเกรด 6 ตามหลักสูตรการศึกษาในระบบของประเทศเมมียนมา

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ คณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปประเทศเมียนมาเพื่ออภิปรายเรื่องความท้าทายและแผนการพัฒนาการศึกษาทางเลือก โดยมีตัวแทนจาก Myanmar Literacy Resource Centre (MLRC) และกรมการศึกษาทางเลือก (Department of Alternative Education: DAE) ซึ่งถือเป็นพันธมิตรหลักสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศเมียนมา รวมทั้งผู้แทนองค์กรรัฐ องค์กรไม่แสวงผลกำไร องค์การระหว่างประเทศ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อมุ่งบริหารจัดการและส่งเสริมโอกาสทางการศึกษานอกระบบให้แก่ผู้อพยพ

ทั้งนี้ นักเรียน คุณครู ผู้นำในชุมชน รวมถึงเจ้าหน้าที่จากกรมการศึกษาทางเลือกจากกรุงเนปีดอ ประเทศเมียนมา ต่างก็ได้รับกระแสตอบฟรับเชิงบวกและทราบถึงผลลัพธ์ที่ดีของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับประถมศึกษาและระดับกลางทั้งในเขตอำเภอแม่สอดและอำเภอ อื่นๆ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเงินในปัจจุบันค่อนข้างมีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการรองรับคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนชาวเมียนมา ต่อไปในอนาคต มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนจึงมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือกับ Myanmar Literacy Resource Centre (MLRC) และกรมการศึกษาทางเลือก เพื่อให้สามารถดำเนินการและต่อยอดโครงการนี้ต่อไปได้อย่างยั่งยืน