โครงการพลังเยาวชน

ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่แน่นอนในประเทศเมียนมา  บีบบังคับให้ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพหลบหนีเดินทางมายังประเทศไทย ผู้อพยพชาวเมียนมา ต้องเผชิญกับปัญหาจากการใช้แรงงาน การค้ามนุษย์ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และปัญหายาเสพติด ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากการขาดการศึกษา การขาดสวัสดิการ และการมีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดี

เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเด็กผู้ด้อยโอกาสมักขาดทักษะในการใช้ชีวิต ความรู้ และโอกาส ในการเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ทำให้พวกเขาต้องเผชิญอันตรายตามท้องถนน (จรจัด) เนื่องจากการขาดการศึกษาที่เหมาะสม การสนับสนุน และการขาดกิจกรรมที่พวกเขาสนใจ ทำให้พวกเขาสูญเสียเป้าหมาย และโอกาสในอนาคต

ในปี 2552 มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน  ได้เริ่มโครงการ พลังเยาวชน (Rays of Youth) เพื่อนำเด็กและเยาวชนตามท้องถนนเหล่านั้น ให้ได้รับการศึกษาและป้องกันอันตรายจากผู้คน ปัญหาจากสังคมรอบข้าง ให้ได้มีสุขภาพและอนามัยที่ดี ส่งเสริมให้พวกเขาได้รับอนาคตที่สดใส

โครงการ ผู้นำเยาวชน นั้นเกี่ยวกับเยาวชน 20 คน ในปีแรกที่เสียสละเวลาให้กับการฝึกอบรมตนเองเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง เพื่อเรียนรู้วิธีการนำเสนอและเป็นผู้ดำเนินรายการท่ามกลางสาธารณะ ในปีถัดมา เยาวชนเหล่านั้นจะได้เป็นผู้ถ่ายทอดสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ให้กับโรงเรียน ผู้อพยพ และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชุมชนของพวกเขาเอง เยาวชนที่เข้าร่วมในโครงการต่างกระตือรือร้นที่จะนำเสนอเรื่องราวด้วยการไปตามที่ต่าง ๆ ที่ชุมชนท้องถิ่นของพวกเขาอาศัยอยู่ ด้วยการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีและละคร  เยาวชนจากโครงงการนี้มักเข้าร่วมการฝึกอบรมด้านสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความรู้และความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นประจำ

ตั้งแต่ปี 2557 ทีมงานโครงการพลังเยาวชน  ได้เปิดโครงการ Cross Border ในรัฐกะเหรี่ยงและ รัฐยะไข่ เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างความตระหนักที่เกิดขึ้นในเมียนมา  โดยมีการจัดการเข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านเป้าหมายในรัฐกะเหรี่ยงและรัฐยะไข่ เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำชุมชน ครู และตัวแทนทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีการประเมินเพื่อระบุความต้องการและปัญหาเฉพาะของหมู่บ้าน เพื่อปรับปรุงแก้ไข
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อตอบสนองความต้องการของเยาวชน การจัดสร้างโครงการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมกิจกรรมการรณรงค์ เป้าหมายระยะยาวของโครงการ คือการขยายเครือข่ายผู้นำชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน NGOs ไปทั่วประเทศเมียนมา 

ROY Project Thailand

ROY Cross Border Project Myanmar

You Tube